ความคุ้มครอง
รายละเอียดความคุ้มครองของ แบบประกันภัย และสัญญาเพิ่มเติม*
1.1 กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
1.1.1 กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเนื่องจากการเจ็บป่วย
หากเสียชีวิตในปีกรมธรรม์ที่ 1 - 2 บริษัทจะจ่าย 102% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้วของแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) ให้แก่ผู้รับประโยชน์
หากเสียชีวิตในปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป บริษัทจะจ่าย 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ ผู้รับประโยชน์
1.1.2 กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตจากความบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุที่มิใช่อุบัติเหตุสาธารณะภายใน 180 วันนับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ
หากเสียชีวิตในปีกรมธรรม์ที่ 1 - 2 บริษัทจะจ่าย 102% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้วของแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) และ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์
หากเสียชีวิตในปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป บริษัทจะจ่าย 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ ผู้รับประโยชน์
1.1.3 กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตจากความบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุสาธารณะภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุสาธารณะ
หากเสียชีวิตในปีกรมธรรม์ที่ 1 - 2 บริษัทจะจ่าย 102% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้วของแบบประกันภัย
เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) และ 200% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์
หากเสียชีวิตในปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป บริษัทจะจ่าย 200% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์
ทั้งนี้ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเพียงกรณีเดียวเท่านั้น และให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดผลบังคับ
1.2 กรณีผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงวันครบกำหนดสัญญาประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์เท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัย
2. สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพวงเงินแน่นอน (เพื่อผู้สูงอายุ)
2.1 ในระหว่าง 2 ปีกรมธรรม์แรก
2.1.1 หากผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุให้ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในตามความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันตามจำนวนเงินระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์คูณจำนวนวันที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยจำนวนวันสูงสุดไม่เกิน 10 วันต่อปีกรมธรรม์
2.1.2 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันเพิ่มอีกหนึ่งเท่าคูณจำนวนวันที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) โดยจำนวนวันสูงสุดไม่เกิน 10 วันต่อปีกรมธรรม์
ทั้งนี้ จำนวนวันที่บริษัทจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันกรณีเป็นผู้ป่วยในและกรณีต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) ตามข้อ 2.1.1 และ 2.1.2 รวมกัน ต้องไม่เกิน 10 วันต่อปีกรมธรรม์
2.2 ตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป
2.2.1 หากผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุให้ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ตามความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันตามจำนวนเงินระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์คูณจำนวนวันที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยจำนวนวันสูงสุดไม่เกิน 10 วันต่อปีกรมธรรม์
2.2.2 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันเพิ่มอีกหนึ่งเท่าคูณจำนวนวันที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) โดยจำนวนวันสูงสุดไม่เกิน 10 วันต่อปีกรมธรรม์
ทั้งนี้ จำนวนวันที่บริษัทจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันกรณีเป็นผู้ป่วยในและกรณีต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) ตามข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 รวมกัน ต้องไม่เกิน 10 วันต่อปีกรมธรรม์
อนึ่ง การจ่ายผลประโยชน์ใดๆก็ตาม หากมีหนี้สินค้างชำระอยู่ บริษัทจะหักหนี้สินที่ค้างชำระอยู่ออกจากจำนวนเงินที่จะพึงจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัย
3. สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
3.1 กรณีเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ (รวมการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย) คุ้มครองในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร รวมถึงจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้ โดยจะจ่ายไม่เกิน ตารางความคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
3.2 ผลประโยชน์เพิ่มเติมในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
3.2.1 การขยายความคุ้มครองการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรจากการขับขี่หรือโดยสารจักรยานยนต์ รวมถึงจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้ และผลประโยชน์การชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
3.2.2 ผลประโยชน์อุบัติเหตุสาธารณะ
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมกรณีอุบัติเหตุสาธารณะเท่ากับ 100% ของจำนวนผลประโยชน์อันจะพึงจ่ายตามข้อตกลงคุ้มครอง ในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร ถ้าการบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองในกรณีดังกล่าว
3.2.3 การชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์การชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หากการบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล
ในกรณีที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.)
บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้เป็น 2 เท่าของผลประโยชน์การชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ไม่เกิน 7 วัน ต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล รวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วันต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง
สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
รายละเอียดความคุ้มครอง | แผน 1 | แผน 2 | แผน 3 | แผน 4 | แผน 5 |
ความคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ | |||||
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง | 100,000 | 200,000 | 300,000 | 500,000 | 1,000,000 |
การพูดออกเสียง ทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน | |||||
ผลประโยชน์เพิ่มเติม | |||||
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง ทุพพลภาพถาวร จากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์สูงสุดไม่เกิน | 25,000 | 50,000 | 75,000 | 125,000 | 125,000 |
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง ทุพพลภาพถาวร จากการฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย สูงสุดไม่เกิน | 50,000 | 100,000 | 150,000 | 250,000 | 250,000 |
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียงทุพพลภาพถาวร จากอุบัติเหตุสาธารณะ จ่ายเพิ่มสูงสุดไม่เกิน | 100,000 | 200,000 | 300,000 | 500,000 | 1,000,000 |
เงินค่ารักษาพยาบาล ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งสูงสุดไม่เกิน | 10,000 | 15,000 | 20,000 | 25,000 | 25,000 |
เงินชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ (สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง) | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 2,500 |
เงินชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล | 1,000 | 1,000 | 2,000 | 2,500 | 2,500 |
(ห้องไอ.ซี.ยู.) จ่ายเพิ่มสูงสุดวันละ | |||||
(สูงสุดไม่เกิน 7 วัน ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง) |
*รายละเอียดผลประโยชน์ในประกาศคำสั่งนี้ เป็นเพียงการสรุปโดยย่อเท่านั้น ซึ่งการพิจารณาจ่ายผลประโยชน์ในกรณีต่างๆ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขความคุ้มครอง คำจำกัดความ และข้อยกเว้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยของ
1) แบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ)
2) สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพวงเงินแน่นอน (เพื่อผู้สูงอายุ)
3) สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
หลักเกณฑ์การรับประกัน
เงื่อนไขแบบประกันภัย
1. อายุที่รับประกันภัย | อายุ 50 - 75 ปี |
- สำหรับสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพวงเงินแน่นอน (เพื่อผู้สูงอายุ) สามารถต่ออายุได้ถึง 89 ปี และให้ความคุ้มครองถึงอายุ 90 ปี | |
- สำหรับสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) สามารถต่ออายุได้ถึง 75 ปี และให้ความคุ้มครองถึงอายุ 76 ปี | |
2. การชำระเบี้ยประกันภัย | รายปี และรายเดือน (เป็นไปตามกรมธรรม์หลัก) |
3. การซื้อสัญญาเพิ่มเติม | ไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ แนบท้ายกรมธรรม์ได้ยกเว้นสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) และสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพวงเงินแน่นอน (เพื่อผู้สูงอายุ) |
4. กลุ่มอาชีพ | กลุ่มอาชีพ 1, 2 |
บริษัทฯ จะไม่พิจารณารับประกัน สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทาง | |
5. สิทธิการซื้อ | 1.ผู้ขอเอาประกันภัยสามารถซื้อแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) ได้มากกว่า 1 กรมธรรม์ต่อคน โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยของแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) รวมทุกช่องทาง สูงสุดไม่เกิน 600,000 บาท ต่อผู้เอาประกันภัยแต่ละคน |
2.ผู้ขอเอาประกันภัยไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ แนบท้ายกรมธรรม์ได้ ยกเว้นสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพวงเงินแน่นอน (เพื่อผู้สูงอายุ) และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) | |
3.ผู้ขอเอาประกันภัยสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพวงเงินแน่นอน (เพื่อผู้สูงอายุ) รวมทุกช่องทาง ได้ไม่เกิน 1 สัญญาต่อคน โดยต้องซื้อแนบท้ายกับกรมธรรม์ใหม่เท่านั้น |