ความคุ้มครอง
รายละเอียดผลประโยชน์ *
ผลประโยชน์พื้นฐาน ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ (รวมการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย)
แบบ อบ. 2 คุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร รวมถึงจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้
ผลประโยชน์เพิ่มเติมในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
- ขยายความคุ้มครองการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร จากการขับขี่หรือโดยสารจักรยานยนต์ และรวมถึงจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้ และผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
- ผลประโยชน์อุบัติเหตุสาธารณะ
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมกรณีอุบัติเหตุสาธารณะ (เฉพาะความคุ้มครองแผน 2 และ 3) เท่ากับ 100% ของจำนวนผลประโยชน์อันจะพึงจ่ายตามข้อตกลงคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร ถ้าการบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองในกรณีดังกล่าว
- ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หากการบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล ในกรณีที่มีความจำเป็นมางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้เป็น 2 เท่าของผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล รวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วันต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง
- การขยายความคุ้มครองการนัดหยุดงาน การจลาจล การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล และการก่อการร้าย
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร อันเกิดจากการนัดหยุดงาน การจลาจล การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดลุกอือต่อด้านรัฐบาล และการก่อการร้าย
- ผลประโยชน์เพิ่มเติมพีเอ รีเทิร์น แคช
หากผู้เอาประกันภัยต่ออายุกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบ PA Return Cash ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มทำสัญญาประกันภัย และในทุกๆปี หากผู้เอาประกันภัยไม่เคยได้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ รวมทั้งข้อตกลงคุ้มครองและเอกสารแนบท้าย บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนเท่ากับเบี้ยประกันภัยรวมต่อปีในปีสุดท้าย
ข้อยกเว้นความคุ้มครองของ การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Return Cash มีทั้งหมด 20 ข้อ เช่น
ไม่คุ้มครองความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจาก หรือสืบเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- การกระทำของผู้เอาประกันภัย ขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษจนไม่สามารถครองสติได้ คำว่า
"ขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา" นั้น ในกรณีที่มีการตรวจเลือดให้ถือเกณฑ์มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ตั้งแต่ 150 มิลลิกรีมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
- การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
- การปวดหลัง อันมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม และภาวะที่มรรอยแตก หรือพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังส่วน Pars interarticularis เว้นแต่มีการแตกหัก หรือเคลื่อน ของกระดูกสันหลังอันเนื่องมากจากอุบัติเหตุ
- สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะได้มีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฎ การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การปฎิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใดๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงที่ไว้ซึ่งกฎอัยการศึก
- การก่อการร้าย
- โรคกระดูกพรุนบาง หรือกระดุกหักจากพยาธิสภาพ *
- สภาพการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย*
- การแตกหักซึ่งเป็นผลมาจากกระดูกที่มีพยาธิสภาพหรือเป็นผลมาจากโรคที่เป็นมาโดยกำเนิด เป็นต้น*
* เฉพาะความคุ้มครองผลประโยชน์กระดูกแตกหักเท่านั้น
หลักเกณฑ์การรับประกัน
หลักเกณฑ์ในการรับประกันภัย
- อายุเริ่มของผู้เอาประกันภัย : 6 ปี - 65 ปี
- ผู้เอาประกันภัย สามารถซื้อแบบประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ PA Return Cash ได้มากกว่า 1 สัญญา โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมสูงสุด ต้องไม่เกินที่บริษัทกำหนดดังดังนี้
อายุ 6 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 10,000,000 บาทต่อคน
อายุ 7 - 15 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 15,000,000 บาทต่อคน
สำหรับอายุ 7 ปี - 15 ปี หากต้องการซื้อทุนประกันในช่วง 10,000,001 - 15,000,000 บาท บิดาหรือมารดา และบุตรคนอื่น ต้องมีทุนประกันอุบัติเหตุที่เท่ากันหรือมากกว่า
อายุ 16 - 60 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 40,000,000 บาทต่อคน
อายุ 61 - 64 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อคน
อายุ 65 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 1,000,000 บาทต่อคน
กรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่าที่กำหนด บริษัทจะพิจารณาเป็นรายๆไป
- การชำระเบี้ยประกันภัย : รายปี
- การตรวจสุขภาพ : ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
- พิจารณารับประกันภัยเฉพาะกรณีมาตรฐาน (Standard case) กรณีต่ำกว่ามาตรฐาน จะต้องส่งให้ทีมผู้ชำนาญด้านพิจารณารับประกันภัยเป็นผู้พิจารณา
- รับประกันภัยเฉพาะกลุ่มอาชีพ 1, 2
- บริษัทจะไม่พิจารณารับประกัน สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทาง เช่น
- คนเช็ดกระจก (ที่สูง)
- นักมวยอาชีพ นักมวยปล้ำ
- ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
- คนขับรถบรรทุกสิบล้อ
- เจ้าหน้าที่ดับเพลิง
- นักแสดงกายกรรม
- ผู้แสดงแทน (ผาดโผน)
- จ๊อกกี้ เทรนเนอร์ม้า และคนเลี้ยงม้า
- ผู้ฝึกสัตว์
- นักประดาน้ำ
- คนงานประจำสวนป่า, ป่าไม้ (อยู่ในป่า)
- ตำรวจ ทหาร (ที่ปฏิบัติงานภาคสนาม)
- บริษัทสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
ประเภทอาชีพ
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 1 หมายถึงเจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านบริหารหรืองานจัดการ งานเสมียน หรืองานขายในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักรลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่ำ
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 2 หมายถึงเจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการ หรือพนักงานในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว หรือปฏิบัติงานทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพเฉพาะหรือกึ่งอาชีพเฉพาะ และบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกือบตลอดเวลาลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลาง
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 3 หมายถึงผู้ปฏิบัติงานในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการ ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 4 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานที่มีอาชีพพิเศษ ซึ่งไม่สามารถจัดเข้าประเภทอาชีพชั้น 1,2 หรือ 3ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากเป็นพิเศษ